เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Tranformer
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งต่างๆ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฎิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน รวมทั้งสามารถสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเองและสิ่งแวดล้อมได้

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

main

Mind mapping


Big  Question :  การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ส่งผลต่อเราและสังคมโลกอย่างไร?

ภูมิหลังของปัญหา:วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างตลอดจนเทคโนโลยีสิ่งก่อสร้าง  เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆที่มนุษย์ได้ใช้เพื่อความสะดวกในชีวิตและการทำงาน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด  ทั้งความคิดเป็นเหตุผล  คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่สามารถตรวจสอบได้

            วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge-based-society) แต่ยังมีผลกระทบที่ตามมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างเช่นปัญหาเทคโนโลยีภาคเกษตรกรรม มีการพัฒนาสารเคมีเพื่อใช้กำจัดแมลงและศัตรูพืช ทำให้สารเคมีเหล่านั้นเป็นอันตรายทั้งต่อแมลง หรือแม้แต่มนุษย์ยังได้รับอันตรายนั้นด้วย อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรมเกิดโรคต่างๆตามมา รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น จึงนำทรัพยากรมาใช้อย่างสิ้นเปลืองดังนั้นทุกคนจึงต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น  สามารถนำความรู้ไปปรับใช้อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์



ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : Transformer” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 Quarter1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์ : สร้างฉันทะ/วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
เหตุการณ์ที่นักเรียนประทับใจในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างอย่างไร
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง  
เครื่องมือคิด :
Round Robin  : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Think Pair Share ,Blackboard Share :  ตั้งชื่อหน่วย
Blackboard Share สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
Mind Mapping :  ก่อนการเรียนรู้
Wall Thinking : สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้(แผ่นใหญ่)
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี/ปากกา
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- ครูและนักเรียนสนทนาถึงเหตุการณ์ในช่วงปิดภาคเรียนมีอะไรบ้าง ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- ครูเปิดหนังเรื่องTransformers ให้พี่ๆดู
- ครูกระตุนคิดด้วยคำถาม
  Ø นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากหนังที่ได้ดู
  Ø นักมีความเข้าใจเกี่ยวกับอะไรบ้างจากหนังเรื่อง Transformers
  Ø นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปปรับใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- นักเรียนตั้งชื่อหน่วย ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share และ Blackboard Share
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว(รายบุคคล)
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว(แผ่นใหญ่) ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard Share
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนผ่านเครื่องมือคิด Mind Mapping
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นจากหนังเรื่อง Transformers
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ระดมสมองตั้งชื่อหน่วย
ชิ้นงาน
เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
 (Mind Mapping)
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถอธิบายและให้เหตุผลในสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- ใช้กำลังกายในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- รู้จักรักษาและเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนรวม

ทักษะการสื่อสาร
- สนทานาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ประทับใจในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา
- พูดนำเสนอในเรื่องที่อยากเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนฟังอย่างมีเหตุผล

ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้

ทักษะการคิด
 สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

คุณลักษณะ:
- รักการเรียนรู้กระตือรือร้นในการทำงาน
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2-3
โจทย์ : แรงและการเคลื่อนที่
Key  Questions :
 - จากการทดลองดึงกระสอบทรายนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าน้ำช่วยให้เกิดไฟฟ้าได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับแรงหรือไม่อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าหากเราถือลูกโป่งสวรรค์อยู่ภายในรถ เมื่อรถเบรกลูกโป่งนี้จะเคลื่อนที่ไปด้านใดเพราะเหตุใด

เครื่องมือคิด
Show and Share :
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงกับวัตถุ ในขณะหยุดนิ่งและเคลื่อนที่

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์การทดลองเรื่องแรง
- ลูกโป่งสวรรค์
- ใบงานแรงและการเคลื่อนที่
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลองดึงกระสอบทราย ในมุมต่างๆ (ขนาดทดลอง โดยใช้ตาชั่งสปริงเป็นตัววัดแรง   มีหน่วยเป็น นิวตัน N.)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากการทดลองดึงกระสอบทรายนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
- นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น และร่วมทดลอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าน้ำช่วยให้เกิดไฟฟ้าได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับแรงหรือไม่อย่างไร?”
นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหากเราถือลูกโป่งสวรรค์อยู่ภายในรถ เมื่อรถเบรกลูกโป่งนี้จะเคลื่อนที่ไปด้านใดเพราะเหตุใด?”
นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น และบันทึกผลลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ ดังนี้ กฎของนิวตัน (การเคลื่อนที่ในแนวต่างๆ)   แรงลัพธ์แรงเสียดทาน   , แรงพยุง
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น โดยกำหนดให้การนำเสนอ ต้องมีการทดลองให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้และลงมือทดลองจริง
- ครูและนักเรียนทุกกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นและผลการทดลองของแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น และร่วมทดลอง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมพูดคุยและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ และถ่ายทอดในรูปแบบที่สนใจ  อาทิเช่น Flow Chart  ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
 - นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
 - นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็กและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ภาระงาน
 - ทดลองวิเคราะห์ผลการทดลองดึงกระสอบทราย
 - สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเกิดแรงแรงและการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ
 - นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น และร่วมทดลองการเคลื่อนที่และการเกิดแรงรูปแบบต่างๆ
- วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของลูกโป่ง
 - สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ และถ่ายทอดในรูปแบบที่สนใจ  อาทิเช่น Flow Chart  ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
 - วิเคราะห์และอภิปรายใบงานเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่

ชิ้นงาน
- Flow Chart  ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ใบงานแรงและการเคลื่อนที่
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
(บันทึกผลการทดลอง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของแรงและการเคลื่อนที่ๆเกิดขึ้นในวัตถุชนิดต่างๆได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้


ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ รวมถึงการเกิดแรง

 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองเรื่องแรงและการเคลื่อนที่

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

4-5
โจทย์ : สารและสมบัติของสาร
โจทย์
Key  Questions :
 - นักเรียนคิดว่าวัสดุ ทั้ง 5 ชนิด ประกอบด้วย ยาง  เหล็ก หมากฝรั่ง
ขดลวดทองแดง ปลอกสายไฟ  ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรอย่างไร
-  นักเรียนคิดว่า การแยกสารในรูปแบบต่างๆมีคุณสมบัติแตกต่าง หรือมีข้อจำกัดอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าพลังงานสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสารหรือสสารสามารถเกิดขึ้นหรือสลายหายไปได้หรือไม่เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น เกี่ยวกับการคุณสมบัติของสาร ปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดพลังงาน
และการแยกสารในรูปแบบที่หลากหลาย
- นำเสนอเกี่ยวกับผลการทดลองและข้อจำกัดของกระบวนการแยกสารในประเภทต่างๆ รวมถึงการเกิดพลังงาน
- นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของสสาร

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์การแยกสาร
- ใบงานสสารและสมบัติของสาร
- ครูนำวัสดุ 5 ชนิด ประกอบด้วย
1.       ยาง (ยางยืดและ ยางไม้)
2.       เหล็ก (แท่งเหล็กขนาดเล็ก)
3.       หมากฝรั่ง
4.       ขดลวดทองแดง
5.       ปลอกสายไฟ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดจากการสังเกตนักเรียนคิดว่าวัสดุ ทั้ง 5 ชนิด มีคุณสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรอย่างไร?
-นักเรียนแต่ละคนร่วมกันวิเคราะห์และพิจารณาวัสดุแต่ละชนิด พร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกัน
- จับฉลากเลือกหัวข้อ ดังนี้ สารและสมบัติของสาร , พลังงาน, สมการเคมี  , การแยกสาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น และร่วมทดลองการแยกสารในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น  การกรอง  การระเหย การตกผลึก และ โครมาโตรกราฟี 
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมวิเคราะห์ และบันทึกผลการทดลอง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
Ø นักเรียนคิดว่า การแยกสารในรูปแบบต่างๆมีคุณสมบัติแตกต่าง หรือมีข้อจำกัดอย่างไร?
Ø นักเรียนคิดว่าพลังงานสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร?
Ø นักเรียนคิดว่าสารหรือสสารสามารถเกิดขึ้นหรือสลายหายไปได้หรือไม่เพราะเหตุใด?
- นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ ผ่านชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่ศึกษา
 - นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับสสารและสมบัติของสาร
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็กและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
 - วิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ 5 ชนิด
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสาร ปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดพลังงาน และการแยกสารในรูปแบบต่างๆ
- นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น และร่วมทดลองการแยกสารในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น  การกรอง การระเหย การตกผลึก และ โครมาโตรกราฟี 
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ และถ่ายทอดในรูปแบบที่สนใจ  อาทิเช่น Flow Chart  ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
 - วิเคราะห์และอภิปรายใบงานเกี่ยวกับสสารและสมบัติของสาร

ชิ้นงาน
- Flow Chart  ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ สิ่งที่ได้เรียนรู้
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
 เข้าใจและสามารถอธิบายคุณสมบัติของสาร ปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดพลังงาน และการแยกสารในรูปแบบที่หลากหลายได้

ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะเด่นของสารต่างๆและปฏิกิริยาและพลังงานที่เกิดขึ้น

 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการแยกสารและการสรุปข้อมูลการทดลองได้

คุณลักษณะ:
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
6-7
โจทย์ : พลังงาน
Key  Questions
พลังงานคืออะไรส่งผลต่อตัวเราอย่างไรเพราะเหตุใด
- พลังงานต่างๆที่อยู่รอบตัวเราเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะเหตุใด
- พลังงานแต่ละรูปแบบเหมือนหรือต่างกันอย่างไรเพราะเหตุใด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์การแยกสาร
- ใบงานสสารและสมบัติของสาร
- ดูคลิปแหล่งกำเนิดพลังงาน
- แลกเปลี่ยนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปความเข้าใจจากคลิปที่ได้ดู
- แบ่งกลุ่มจับฉลากแบ่งหัวข้อ พลังงานรูปแบบต่างๆ(ไฟฟ้า,น้ำ,ลมฯลฯ)
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำเสนอและให้เพื่อนกลุ่มอื่นได้ลงมือปฎิบัติจริง
ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนอภิปรายร่วมกันจากคลิปแหล่งกำเนิดพลังงาน
- แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าพลังงานรูปแบบต่างๆ

ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจจากคลิปที่ได้ดู
- การทดลองเรื่องพลังงาน
ความรู้
เข้าใจถึงแหล่งที่มาของพลังงานในรูปแบบต่างๆและสามารถออกแบบการทดลองให้ผู้อื่นเข้าใจถึงพลังงานั้นๆได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะเด่นของสารต่างๆและปฏิกิริยาและพลังงานที่เกิดขึ้น

 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการแยกสารและการสรุปข้อมูลการทดลองได้

คุณลักษณะ:
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
8
โจทย์ : Drawing
Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร
- หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำเหล่านี้ ในรูปแบบงานศิลป์ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด:
Show and Share :
- นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการใช้ทัศนศิลป์ช่วยสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ภาพวาดศิลปะ
- ฉลากคำสื่อความหมาย อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
- ครูให้นักเรียนดูภาพวาดศิลปะต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพที่ได้ดู ศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร?
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นและเขียนแสดงทัศนะคติของตนเองที่มีต่อศิลปินในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “หัวใจสำคัญของงานศิลปะที่มองผ่านรูปแบบทัศนศิลป์ คืออะไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนจับฉลากเลือกคำเพื่อสื่อความหมาย อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละคนสร้างงานศิลป์ของตนเอง พร้อมนำเสนอ
- นักเรียนทำใบงาน “ความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- จับฉลากเลือกคำวิเคราะห์ความหมายเพื่อสร้างงานศิลป์ อาทิเช่น  ชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
- นำเสนองานศิลป์และทำใบงานเกี่ยวกับความเข้าใจทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ดนตรี และ นาฏศิลป์

ชิ้นงาน
- การแสดงถ่ายทอด ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์
- งานศิลป์ สื่อความหมายของคำ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆได้

ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ

 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น

ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง
- การสื่อความหมายของคำผ่านงานศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
9
โจทย์ : งานปั้น
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่างานปั้นแต่ละชิ้นที่ได้ดู นักเรียนคิดว่าศิลปินต้องการสื่อความหมายอะไร
- นักเรียนเห็นรูปปั้นเหล่านี้แล้วรู้สึกอย่างไร(สะท้อนออกมาในมุมมองของศิลปะ)
เครื่องมือคิด
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ภาพวาดศิลปะ
-พิภิตพันพื้นบ้านหนองบัวโคก
-  ครูนำเครื่องปั่นดินเผามาให้ๆพี่ๆดู
-  ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
Ø เห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร
Ø คิดว่าศิลปินที่ปั่นต้องการสื่อถึงอะไร
-ทัศนศึกษา พิภิตพันพื้นบ้านหนองบัวโคก
-  ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
Ø เห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร
Ø ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการทัศนศึกษาครั้งนี้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจในสิ่งที่ได้จากการทัศนศึกษาครั้งนี้โดยใช้เครื่องมือคิด การ์ตูนช่อง
- นักเรียนออกแบบงานปั้นของตัวเองโดยมีเนื้อหาสื่อถึงชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
- นักเรียนลงมือปั้นชิ้นงานของตนเองตามที่ออกแบบไว้
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันถึงอารมณ์ของศิลปินที่สื่อผ่านงานปั้น
- ทัศนศึกษา พิภิตพันพื้นบ้านหนองบัวโคก
- ออกแบบงานปั้นของตัวเองโดยมีเนื้อหาสื่อถึงชีวิต  ความงาม  ความจริง  ความรัก ฯลฯ
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจในสิ่งที่ได้จากการทัศนศึกษา
- งานปั้นของนักเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและตนเอง สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบของตนเองได้


ทักษะ:
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรมและความแตกต่างของศิลปะในแขนงต่างๆ

 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น

ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นด้าน ทัศนศิลป์ ,  ดนตรี  ,นาฏศิลป์ในรูปแบบการแสดง
- การสื่อความหมายของคำผ่านงานศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในกาการทำงาน
10
โจทย์ : หัตถกรรม
Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่า งานจักสานเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับพวกเราและคนอื่นๆย่างไร
- นักเรียนคิดว่า เราสามารถนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ ไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์จริงได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
Show and Share :
นำเสนอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง อาทิเช่น คลิป VDO “ เครื่องจักรสานไทย Siam”  
งานสานประเภท งาไซดักปลา กระบุง กระด้ง ฯลฯ
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์ได้จริง

 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “ เครื่องจักรสานไทย Siam”
- เรื่องเล่าปลาตะเพียน
- ตอก สำหรับสาน
-  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ที่แล้ว
 ครูเปิดคลิป VDO “ เครื่องจักรสานไทย Siam” ซึ่งเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนอีสานที่มีต่องานจักสาน
 -  ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู?”
- ครูนำปลาตะเพียนสานมาให้นักเรียนดู พร้อมเล่าความเป็นมาของปลาตะเพียนสานให้นักเรียนฟัง
- ครูแจกทางมะพร้าวให้กับนักเรียนแต่ละคน และให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบงานสานที่ตนเองรู้จัก คนละ 1 ชิ้น ตามความสนใจ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานสานของแต่ละคนกับตัวเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมฟัง
- ครูนำงานจักสานประเภท งาไซดักปลา กระบุง กระด้ง ฯลฯ ให้นักเรียนได้ร่วมสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่า งานจักสานเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับพวกเราและคนอื่นๆย่างไร?”
นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
ครูเชิญวิทยากร มาเล่าเกี่ยวกับงานจักรสาน
-  ฟังเรื่องเล่าความเป็นมาจากวิทยากร เกี่ยวกับงานจักรสาน
พร้อมร่วมทำกิจกรรม สานกระด้ง จากตอก
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า เราสามารถนำงานจักสานเดิมที่มีอยู่ ไปพัฒนาต่อและใช้ประโยชน์จริงได้อย่างไร?”
นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูล เตรียมอุปกรณ์และออกแบบโมเดล งานจักสานที่สนใจ และใช้ประโยชน์ได้จริง คนละ 1 – 2  ชิ้น ตามความต้องการ
 - นักเรียนแต่ละคนลงมือสร้าง งานจักสาน ตามรูปแบบโมเดลที่ออกแบบไว้
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน.ในรูปแบบชาร์ตหรือตามที่สนใจ
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ออกแบบงานสานที่ตนเองรู้จัก คนละ 1 ชิ้น ตามความสนใจ
- ร่วมกันเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างงานสานของแต่ละคนกับตัวเอง
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สืบค้นข้อมูล เตรียมอุปกรณ์และออกแบบโมเดล งานจักสานที่สนใจ และใช้ประโยชน์ได้จริง
- สร้างงานจักสาน ตามรูปแบบโมเดลที่ออกแบบไว้
- นำเสนอชิ้นงาน

ชิ้นงาน
- โมเดลงานสาน
- งานสาน ตามความสนใจ
- ชาร์ตนำเสนอชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานหัตถกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและตนเอง

ทักษะ :
ทักษะการจัดการข้อมูล
- การวางแผนในการจัดเรียงข้อมูลที่น่าสนใจ วิเคราะห์ข้อมูลที่สืบค้น และการพัฒนางานสานในรูปแบบใหม่

ทักษะการICT
 การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงานจักสานดังเดิม

ทักษะชีวิต
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องภูมิปัญญาด้านการประดิษฐกรรม ที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานสานในรูปแบบใหม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
11
โจทย์ : สรุปองค์ความรู้ หน่วย  Transformer”
Key Questions :
นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วย“Transformer”ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
-  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarterนี้

เครื่องมือคิด :
Blackboard Share :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผย แพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ หน่วย “Transformer”
Round Robin  :  การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมาทั้ง Quarter
Show and Share :  นำเสนอการประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนา
Mind Mapping :  สรุปองค์ความรู้หลังการเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4, A3
- TV นำเสนอ VDO

- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในหน่วย “Transformer”
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนหน่วย “Transformer”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
จัดนิทรรศการและนำเสนอ
นิทรรศการ
แสดงละคร
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์

ความรู้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามารถจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เรื่อง“Transformer” ได้
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ ผ้า
-  เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของการนำเสนองาน
- ใช้อุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น

ทักษะ ICT
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการให้น่าสนใจ

ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้

คุณลักษณะ
เคารพและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
- สนใจกระตือรือร้นในการนำเสนองาน
มีน้ำใจอดทนในการทำงานจนสำเร็จ